ไดโนเสาร์และกบ


โครงงานเรือ

โครงงานเรือ


การเรียนรู้ผ่านการเล่น หรือการเรียนโครงงาน


 
โรงเรียนอนุบาลบ้านบาตร เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างดีๆที่มีแนวการสอนโดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ ตามทฤษฏีของ Reggio Emilia. ย้อนหลังไปเมื่อ 4 ปีที่แล้วขณะที่โรงเรียนของเราเริ่ม ใช้ทฤษฏีของ Regio Emilia คุณครู เด็กนักเรียน และผู้ปกครองเริ่มมีการทำงานร่วมกัน เพื่อการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพสูงสุด ห้องเรียนและสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนอุดม สมบูรณ์ไปด้วยแหล่งการเรียนรู้ เด็กๆมีกลุ่มการเรียนรู้จากการค้นคว้า ทดลอง ลองผิด ลองถูกโดยมีครูเป็นผู้ให้การสนับสนุน ครูมีบทบาทเป็นผู้ชี้แนะ ตั้งคำถาม จัดหนังสือ และอุปกรณ์ที่จะเป็นประโยชน์ครูเปลี่ยนบทบาทและวิธีคิดโดยผู้เรียนมีธรรมชาติในการ เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างไม่มีที่สิ้นสุดครูเก็บข้อมูลจากคำพูดของนักเรียนในขณะที่ทำ กิจกรรมและนำมาวิเคาระห์เพื่อวางแผนกิจกรรมสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็ก

การเรียนโครงงานหรือที่เราเรียกว่า Project Approach เป็นการเรียนการสอนแบบใหม่ที่กำลังแพร่หลายไปทั่วโลก โดยมีโรงเรียน Regio Emillia ที่ Italyเป็นโรงเรียนต้นแบบ ในขณะนี้หลายๆประเทศ รวมทั้งแผนการศึกษาแห่งชาติของประเทศไทยกำลังศึกษาและใช้เป็นแบบอย่างเพราะนักวิชาการได้ทำการวิจัยแล้วว่าเกิดประโยชน์กับผู้เรียนอย่างแท้จริง การเรียนโครงงานนี้จะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child Centered) ซึ่งมีลักษณะดังนี้

  • Active Learning ผู้เรียนเป็นผู้เลือกเรื่องที่สนใจจะเรียนและได้ลงมือปฏิบัติ ลองผิดลองถูกเพื่อพิสูจน์สมมุติฐานหรือข้อสงสัยที่ตั้งไว้
  • Construct ผู้เรียนค้นพบสาระสำคัญ ตอบคำถามที่ตนสงสัย หรือค้นพบความรู้ใหม่ด้วยตนเอง อันเกิดจากการได้ศึกษา ค้นคว้า ทดลองและลงมือปฏิบัติ
  • Resource ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งจากบุคคล สถานที่ เครื่องมือทั้งในห้องเรียนละนอกห้องเรียน
  • Thinking ส่งเสริมทักษะการดิควิเคาระห์ และสาระความรู้มาจากความเข้าใจของเด็กๆเองซึ่งจะทำให้เกิดความจดจำไปอีกยาวนาน ไม่ใช่มาจากคำบอกเล่าของครู
  • Happiness ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุขเพราะได้เลือกเรียนสิ่งที่สนใจและได้ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องการ
  • Participation ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนกำหนดงาน วัสดุอุปกรณ์ ฝึกให้เด็กรับผิดชอบ
  • Individualization เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนเป็นหลัก (Child Centered) ไม่ใช่ยึดครูเป็นหลัก (Teacher Centered)
  • Good Habit เป็นกิจกรรมที่พัฒนาคุณลักษณะนิสัยที่ดีงาม เช่น ค้นคว้าทดลอง
    กระตือรือร้นหาความรู้ รู้จักการแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือและแบ่งปัน
ในขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการมีความต้องการที่จะพัฒนาให้ครูไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนแบบเดิมๆที่ครูเป็นผู้พูดบอกเด็กทุกเรื่อง ส่วนเด็กนักเรียนต้องนั่งเงียบ เขียนหนังสือและตั้งใจฟัง เนื่องจากการเร่งเรียนเกินไป จะส่งผลบางอย่างในระยะยาว ได้แก่ ความเครียด เด็กขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่กล้าเข้าสังคมคนแปลกหน้า ท้อแท้เมื่อพบปัญหาหรือ
สิ่งที่ไม่เข้าใจ และเวลาของเด็กที่ควรจะได้ปลูกฝังลักษณะนิสัยการรักเรียนที่เกิดขึ้นในวัยนี้หายไปเพราะเด็กต้องใช้เวลาส่วนใหญ่มุ่งมั่นในการเขียนหนังสือตามแบบ การบวกลบเลขจำนวนมากๆและความหวังของผู้ปกครองและครู

จากงานวิจัยทั้งในประเทศและนอกประเทศพัฒนาทางด้านร่างกายและสติปัญญานั้น จะเห็นได้ชัดเจนในระยะเวลาสั้น แต่พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจและสังคมต้องอาศัยเวลาและโอกาสให้เด็กได้แสดงออก บางทีอาจเห็นผลเมื่อเด็กเรียนจบชั้นอนุบาลไปแล้ว หรือเมื่อมีเหตุการณ์ สถานการณ์ที่เด็กได้มีโอกาสแสดงออก เราถึงทราบว่าเด็กมีพัฒนาการดีขึ้น

การเรียนการสอน Project Approach นี้จะช่วยพัฒนาเด็กๆตามวัยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคม เนื่องจากครูให้ความสำคัญต่อความคิดและคำพูดของเด็ก ส่งผลให้เด็กเกิดความเชื่อมั่น ภาคภูมิใจ กล้าคิด กล้าพูดแสดงความคิดเห็น ครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะเมื่อเกิดปัญหา ตั้งคำถามกระตุ้น จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เท่านั้น ทำให้องค์ความรู้ทั้งหมดมาจากผู้เรียนที่เกิดความ
เข้าใจอย่างแท้จริง และความเข้าใจที่แท้จริงนี้จะส่งผลให้เกิดการจดจำไปอีกยาวนาน